Q Code มีการคิดค้นและใช้มากว่า 100 ปี เริ่มแรกในประเทศอังกฤษ โดยนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเรือเดินสมุทรกับยามฝั่ง และพัฒนาปรับใช้ให้เป็นสากลทั่วโลก
Q Code เป็นกลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว ขึ้นต้นด้วยอักษร Q สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส (Morse Code) เพื่อลดระยะเวลาในการรับ-ส่ง ซึ่งต่อมาในการประชุมสมาพันธ์วิทยุนานาชาติครั้งที่ 3 ได้มีการบรรจุกลุ่มอักษร 12ชุด มีมติให้ใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 เมื่อมีการใช้เป็นที่แพร่หลาย มีการเพิ่มกลุ่มอักษร ในช่วง QAA – QNZ กำหนดให้ใช้สำหรับกิจการวิทยุการบิน ช่วง QOA – QOZ กำหนดให้ใช้สำหรับกิจการวิทยุเดินเรือ และช่วง QRA – QUZ ให้ใช้สำหรับกิจการอื่น รวมถึงการนำมาใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นด้วย ในปัจจุบันการสื่อสารจะพัฒนามาจนสามารถส่งเสียงพูดผ่านคลื่นวิทยุได้ แต่ยังคงมีการใช้ Q Code แทนคำหรือข้อความ เพื่อให้กระชับและสื่อความหมายให้เข้าใจได้ถูกต้องชัดเจน
Code | คำอ่าน | คำถาม | คำตอบ |
---|---|---|---|
QRA | คิว อาร์ เอ | สถานีของท่านชื่ออะไร? | สถานีของข้าพเจ้าชื่อ.. |
QRB | คิว อาร์ บี | ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด? | ข้าพเจ้าอยู่ห่างจากสถานีของท่านประมาณ.. |
QRD | คิว อาร์ ดี | ท่านจะไปที่ไหน? และมาจากที่ไหน? | ข้าพเจ้ามาจาก.. ข้าพเจ้าจะไปที่.. |
QRE | คิว อาร์ อี | ท่านจะใช้เวลาประมาณเท่าใด จะถึงที่หมาย? | ข้าพเจ้าจะใช้เวลา ถึง ประมาณ.. ชม. |
QRG | คิว อาร์ จี | ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม? | ความถี่แท้จริงของท่านคือ.. |
QRH | คิว อาร์ เอช | ท่านจะบอกความถี่ที่แน่นอนของข้าพเจ้าได้หรือไม่ | ความถี่ที่แน่นอนของท่าน .. KHz หรือ MHz |
QRK | คิว อาร์ เค | ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด? | ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้.. |
QRK1 | คิว อาร์ เค 1 | รับฟังข้อความไม่ได้เลย | |
QRK2 | คิว อาร์ เค 2 | รับฟังข้อความไม่ค่อยดี แทบไม่ได้หรือรับได้บางคำ | |
QRK3 | คิว อาร์ เค 3 | รับข้อความได้พอใช้ | |
QRK4 | คิว อาร์ เค 4 | รับข้อความได้ดี | |
QRK5 | คิว อาร์ เค 5 | รับข้อความได้ดีเยี่ยม | |
QRL | คิว อาร์ แอล | ท่านมีธุระหรือไม่ | ข้าพเจ้ามีธุระหรือมีธุระกับ.. |
QRM | คิว อาร์ เอ็ม | ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ? (จากบุคคล) | ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวน (1-5) |
QRN | คิว อาร์ เอ็น | ท่านกำลังถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ? | ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ (1-5) |
QRO | คิว อาร์ โอ | ข้าพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่? | เพิ่มกำลังส่งขี้นอีก |
QRP | คิว อาร์ พี | ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่? | ลดกำลังส่งลง |
QRQ | คิว อาร์ คิว | ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่? | ส่งเร็วขึ้น (… คำต่อนาที) |
QRS | คิว อาร์ เอส | ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่? | ส่งช้าลง (… คำต่อนาที) |
QRT | คิว อาร์ ที | ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่? | หยุดการส่ง |
QRU | คิว อาร์ ยู | ท่านมีข้อความอะไรถึงข้าพเจ้าอีกหรือไม่? | ไม่มีข้อความ, หมดข้อความ |
QRV | คิว อาร์ วี | ท่านพร้อมหรือยัง? | ข้าพเจ้าพร้อมแล้ว |
QRW | คิว อาร์ ดับเบิ้ลยู | จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่านกำลังเรียก อยู่ที่ความถึ่? | ขอให้ท่านแจ้งเขาให้ทราบ |
QRX | คิว อาร์ เอ็กซ์ | เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก? | ข้าพเจ้าจะเรียกท่านอีก เวลา.. น. |
QRZ | คิว อาร์ แซด | ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า? | (ชื่อสถานี) กำลังเรียกท่าน |
QSA | คิว เอส เอ | ความแรงของสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นเช่นไร? | ความแรงสัญญาณของท่าน |
QSA1 | คิว เอส เอ 1 | อ่อนมากจนแทบรับสัญญาณไม่ได้เลย | |
QSA2 | คิว เอส เอ 2 | อยู่ในระดับอ่อน | |
QSA3 | คิว เอส เอ 3 | อยู่ในระดับแรงพอใช้ได้ | |
QSA4 | คิว เอส เอ 4 | อยู่ในระดับแรงดี | |
QSA5 | คิว เอส เอ 5 | อยู่ในระดับแรงดีมาก | |
QSB | คิว เอส บี | สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่? | สัญญาณของท่านจางหาย |
QSL | คิว เอส แอล | ท่านรับข้อความได้หรือไม่? | ข้าพเจ้าได้รับข้อความแล้ว |
QSM | คิว เอส เอ็ม | จะให้ข้าพเจ้าทวนข้อความสุดท้ายซ้ำอีกหรือไม่? | โปรดทวนข้อความสุดท้ายซ้ำอีก |
QSN | คิว เอส เอ็น | ท่านได้ยินข้าพเจ้าที่ความถี่…หรือไม่? | ข้าพเจ้าได้ยินท่านที่ความถี่… |
QSO | คิว เอส โอ | ท่านสามารถติดต่อกับ(ชื่อสถานี) ได้โดยตรงหรือไม่? | ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับ (ชื่อสถานี) ได้โดยตรง |
QSP | คิว เอส พี | ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง…ได้หรือไม่? | ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง…ได้ |
QSX | คิว เอส เอ็กซ์ | ท่านจะรับฟัง(ชื่อสถานี) ที่ความถึ่…ได้หรือไม่? | ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง(ชื่อสถานี) ที่ความถี่.. |
QSY | คิว เอส วาย | ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งความถี่อื่นได้หรือไม่? | ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่นที่.. |
QTH | คิว ที เอช | ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด? | ตำแหน่งสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่.. |
QTR | คิว ที อาร์ | ขณะนี้เวลาเท่าใด? | ขณะนี้เวลา.. |
โค้ดคำหรือข้อความ
คำ\ข้อความ | คำอ่าน | ความหมาย |
73 | เจ็ดสิบสาม | ด้วยความปรารถนาดี ใช้กล่าวอำลาเมื่อจะเลิกติดต่อทางวิทยุ |
88 | แปดสิบแปด | มาจากคำว่า LOVE and KISS ใช้กล่าวอำลาสำหรับนักวิทยุที่มีเพศต่างกัน และคุ้นเคย |
BREAK | เบรค | ขอขัดจังหวะ การติดต่อระหว่างคู่สถานีที่กำลังติดต่อกันอยู่ (มาจากคำว่า Break in) |
CLEAR | เคลียร์ | เลิกการใช้ความถี่ที่กำลังใช้อยู่ เมื่อสิ้นสุดการติดต่อ |
CONTACT | คอนแทค | ขอเข้าร่วมใช้ความถี่ ที่คู่สนทนากำลังติดต่อกันอยู่ |
Copy | ก็อปปี้ | สามารถรับข้อความได้ |
CQ CQ CQ | ซีคิวซีคิวซีคิว | เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี (General Call) หรือ “ผู้ใดได้ยินแล้วตอบด้วย” |
DX | ดีเอ็กซ์ | การติดต่อระยะไกล สถานีที่อยู่ห่างไกล (ต่างประเทศ) ย่อมาจากคำว่า Distance |
GO AHEAD | โก อะเฮด | เริ่มส่งได้ |
HAM | แฮม | เป็นคำแสลง หมายความว่า นักวิทยุสมัครเล่น |
Harmonic | ฮาร์โมนิก | บุตร (ลูกชาย ลูกสาว) |
Land Line | แลนด์ไลน์ | โทรศัพท์ |
Log Book | ล็อกบู๊ค | สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร |
MAY DAY | เมย์เดย์ | สัญญาณแจ้งเหตุอันตราย หรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน |
NEGATIVE | เนกาทีฟ | ไม่ใช่, ปฏิเสธ |
OM | โอเอ็ม | สุภาพบุรุษ |
OVER | โอเวอร์ | เปลี่ยน (เชิญคู่สถานีเป็นฝ่ายส่ง) |
PORTABLE | พอร์ตเทเบิ้ล | สถานีชั่วคราว |
QSL CARD | คิวเอสแอล การ์ด | บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร |
ROGER | โรเจอร์ | รับทราบข้อความที่ส่งมา ครบถ้วนและเข้าใจแล้ว |
Standby | สแตนด์บาย | อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมรับการติดต่อ |
Two Meter | ทูว์ เมตเตอะ | เครื่องรับ-ส่งวิทยุย่าน 144-147 MHz |
UTC | ยู ที ซี | เวลามาตรฐานสากล |
XYL | เอ็กซ์วายแอล | ภรรยา |
YL | วายแอล | หญิงสาว หรือนักวิทยุสมัครเล่น ที่เป็นเพศหญิง |
อ้างอิงข้อมูล
https://th.m.wikipedia.org/wiki/รหัสคิว
https://hs7wmu.wordpress.com/2010/10/01/q-code-สำหรับวิทยุสมัครเล่น/