วัดม่วยต่อนี้ในอดีตตั้งอยู่ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเมืองขุนยวม คนท้องถิ่นจะเรียกวัดม่วยต่อในอีกหนึ่งชื่อก็คือ “จองเน๋อหรือวัดทิศเหนือ” จากประวัติที่มีคนแก่เล่าสืบต่อกันมานั้นบอกว่า เมื่อปี พ.ศ.2397 นั้นมีการพบว่าเป็นวัดร้าง ที่มีซากพระธาตุและวิหารเก่าอยู่ เมื่อมีพระธุดงค์มาอาศัยพักระหว่างเดินธุดงค์ เมื่อมีชาวบ้านเลื่อมใสมากขึ้นชาวบ้านจึงช่วยกันทะนุบำรุงรักษา มีการสร้างศาลาการเปรียญแบบไต (ไทใหญ่) ขึ้นมาใช้ชั่วคราวและได้เรียกวัดนี้ว่า “จองหม่วยต่อ” (จอง=วัด ในภาษาไต) พ.ศ.2451 มีศรัทธาลุงจองหลู่และครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาทั้งหลาย มีจิตศรัทธาสร้างศาลาการเปรียญแบบไทยใหญ่เป็นอาคารถาวรขึ้นหลังหนึ่งแทนศาลา หลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก พร้อมกับสร้างพระประธานแบบก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ขึ้นเป็นองค์แรก (องค์ซ้ายมือ) ต่อมาอีกหนึ่งปีพระโพธิญาณเจ้าอาวาสองค์ที่สองพร้อมด้วยลูกศิษย์ลูกหาได้ สร้างพระประธานองค์ที่สองขึ้นลุ ถึง พ.ศ.2471 ศรัทธาแม่เฒ่าพะก่าหม่านจี่ พานิชยานนท์และครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาอื่น ๆ ร่วมกันสร้างศาลาการเปรียญเพิ่ม 1 หลัง พร้อมกับสร้างหอไตรแบบไทยใหญ่ใต้ฐานเจดีย์และศาลาบำเพ็ญสมณธรรม (สลอบอาหยุ่ง) ด้านหน้าพระธาตุเจดีย์ไว้เป็นที่บำเพ็ยสมณธรรมคนเฒ่าคนแก่อีกด้วย
พ.ศ.2472 ศรัทธาพ่อเฒ่าจองยอย แม่เฒ่าจองออย วัฒนมาลาและครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชาวบ้านขุนยวมได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระประธานขึ้น 1 องค์ เป็นองค์ที่สามและสร้างศาลาการเปรียญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลัง พ.ศ.2439 นายพะกะเปอพร้อมด้วยคณะศรัทธาได้ร่วมแรงสามัคคีกันสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น 4 องค์ ปัจจุบันเหลือเพียง 3 องค์ เพราะองค์ที่ 4 ทรุดพังไม่สามารถบูรณปฏิสังขรณ์ให้คงสภาพเดิมได้ ส่วน 3 องค์ที่เหลือนี้พระมหาธรรมศรฐานิสสโร ได้เชิญชวนศรัทธาญาติโยมที่มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ในขณะเดียวกันศรัทธานายส่ง กานหลู่ บุญลืนและคณะศรัทธาทั้งหลายได้มีจิตศรัทธาปสาทร่วมกันสร้างศาลาหน้าองค์พระ เจดีย์ 1 หลัง เพื่เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระสงฆ์และเป็นที่จำศีลภาวนาของสัตบุรุษ พ.ศ. 2512 พระครูอนุสารณ์ศาสนการ ได้เชิญชวน ศรัทธาประชาชนทั้งใกล้และไกล บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญด้านหน้าซึ่งชำรุดทรุดโทรมจนแทบจะอาศัยอยู่ไม่ ได้ให้เป็นอาคารถาวรแบบใหม่ หลังคาเป็นแบบศิลป์ไทยภาคกลางทำให้วัดม่วยต่อเป็นถาวรสถานที่ผสมผสานศิลปของ ไทยใหญ่เข้ากับศิลปไทยกลาง
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นกองทัพญี่ปุ่นมีการตัดถนน เข้ามาที่นี่ เพื่อจะเดินทางโดยทางรถเข้าไปในประเทศพม่าด้านรัฐคะยาห์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงสิ้นสุดสงครามโลก ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามครั้งนี้ ทหารญี่ปุ่นเลยต้องยกทัพกลับโดยการเดินเท้ากลับมาผ่านอำเภอขุนยวมอีกครั้ง และวัดม่วยต่อแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว ระหว่างที่พักอยู่ที่นี่นั้นก็มีทหารหลาย ๆ คนเสียชีวิตลง และได้มีการฝังศพไว้ในบริเวณวัดม่วยต่ออีกด้วย
วัดม่วยต่อ ตั้งอยู่ หมู่ 1 บ้านขุนยวม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม ใกล้สำนักงานเทศบาลหรือเยื่องกับอนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น
แผนที่ วัดม่วยต่อ