บันทึกช่องคลื่นความถี่วิทยุสมัครเล่น AR ตามประกาศ ปี’60

ปี 60 กสทช. ประกาศ ให้ขยายช่วงคลื่นความถี่ย่านวิทยุสมัครเล่น เพี่มเป็น 144.000 – 147.000 MHz ทำให้ช่องความถี่ที่ใช้ รับ-ส่ง การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง เพิ่มขึ้นเป็น 131 ช่อง และรีพีทเตอร์ เพิ่มเป็น 26 คู่ (Duplex) จึงอยากจะมาแนะนำการบันทึกช่อง ช่วงคลื่นความถี่ในย่านวิทยุสมัครเล่น เพื่อให้ใช้ช่องความถี่ที่ถูกต้อง สามารถกดเรียกขานเปลี่ยนช่องหากันได้ง่ายขึ้น

คลื่นความถี่ที่ใช้ รับ-ส่ง ติดต่อสื่อสารประเภทเสียง เริ่มตั้งแต่ 144.5125 – 147.000 MHz แต่ในระหว่างความถี่นั้น มีการกำหนดให้ใช้ความถี่ เพื่อติดต่อสื่อสารประเภทอื่นด้วยบางช่วง ทำให้ความถี่ไม่ได้ลำดับตามไปกับหมายเลขช่อง (ให้ดูภาพประกอบ)


แต่ไม่ต้องคิดมากครับ เริ่มกันดีกว่า ถ้าดูตามภาพผังที่ทำไว้ จะมีช่วงคลื่นความถี่ที่ ห้าม นำมาติดต่อสื่อสารประเภทเสียง ในผังจะเป็น ตัวสีแดง ส่วนช่วงคลื่นความถี่ที่ใช้เฉพาะการติดต่อสื่อสารประเภทเสียง ที่เอามาบันทึกไว้ในเครื่องวิทยุสื่อสารของเรา ช่อง 1 จึงเริ่มตั้งแต่ความถี่ 144.5125 MHz เป็นต้นไป เพิ่มความถี่ (step) ทีละ 12.5 kHz มีทั้งหมด 5 ช่วง ( ตัวสีเขียว ) คือ

ช่อง 1-40
ความถี่ 144.5125 – 145.000 MHz
ช่อง 41-65
ความถี่ 145.1375 – 145.5375 MHz
ช่อง 70-73
ความถี่ 145.500 – 145.5375 MHz
ช่อง 90-115
ความถี่ 146.2875 – 146.600 MHz
และช่อง 116-131
ความถี่ 146.8125 – 147.000 MHz

ดังนั้นคลื่นความถี่ที่เราเอามาบันทึกช่อง 1-131 เว้นช่องที่ใช้ในกิจการอย่างอื่นไว้ (ตัวสีน้ำตาล ) มีจำนวนช่องที่ต้องบันทึกจริง 111 ช่อง ก็ค่อยบันทึกไป ตามเลขช่องได้เลย วิธีการบันทึกอาจจะแตกต่างกัน ตามเครื่องที่เราใช้ ทั้งชนิดมือถือและเครื่องประจำที่ ก็ให้ทำตามคู่มือของเครื่องนั้นครับ

ทีนี้ช่องคลื่นความถี่ที่ใช้เป็นรีพีทเตอร์ (ตัวสีม่วง) เอาไว้ไหน อันนี้ ลองพิจารณาช่องรีพีทเตอร์ที่ใช้บ่อยก่อน นั่นคือรีพีทเตอร์ ที่อยู่ในพื้นที่ เช่น อยู่ในพื้นที่ HS5… ก็นำเอาความถี่รีพีทเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่ HS5 เอามาใส่ช่องตามรหัสไปรษณีย์ เช่น

HS5AC เชียงใหม่ รหัส 50xxx ใช้ช่อง 150 HS5AL ลำพูน รหัส 51xxx ช่อง 151 … บันทึกไป จนครบ 152 153…158 HS5AH แม่ฮ่องสอน รหัส 58xxx และพิเศษสำหรับ จังหวัดเชียงใหม่ มีสมาคมวิทยุสมัครเล่นสามขุนเขาพระเจ้าฝาง ตั้งอยู่ที่อำเภอฝาง จึงเลือกเอาไว้ช่อง 159
แต่ถ้าทำตามหลักการนี้ก็อาจจะมีปัญหา สำหรับพี่น้อง เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น ที่อยู่ในพื้นที่ HS1..HS2..HS3.. ที่ช่องบันทึกถูกใช้ไปแล้ว อันนี้ก็ให้พิจารณา เลือกบันทึกช่องตามสะดวกครับ
หากต้องการบันทึกช่วงคลื่นความถี่รีพีทเตอร์ ทั้งหมด 26 ช่อง ก็เลือกเอาช่วงที่ว่างพอ จะบันทึกเป็นช่วงยาวได้ทั้งหมด ที่ลองบันทึกไว้ใช้ในช่วง 161-186 เป็นช่องรีพีทเตอร์อันเสร็จ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย เช่นการใส่โทน หรือการตั้งค่า duplex -600kHz อันนี้ ต้องดูแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อว่าตั้งค่ากันอย่างไร
เมื่อเราบันทึกช่องไว้ตามนี้เราก็จะได้ช่องคลื่นความถี่มาตรฐาน ตามที่ กสทช.กำหนดไว้ เช่น standby ช่อง 32 คือ 144.900 MHz หรือช่องความถี่ 145.000 MHz สำหรับ standby และสื่อสารกับหน่วยงานรัฐ ก็จะเป็นช่อง 40 หรือหากมีการ contact เรียกขานกันแล้ว จะเปลี่ยนไป QSO ในช่องตรง เราก็ QSY เลขช่องได้เลย เช่น QSY ความถี่ 145.400 MHz ก็แจ้งว่า QSY ช่อง 62 ถ้าเราใช้กันประจำ เราก็ไม่ต้องแจ้งเลขความถี่ หรือหากจะแจ้งความถี่ เราก็แจ้งเลขช่องตามไปด้วย เช่น QSY ไป 146.300 MHz ช่อง 91 เป็นต้น ลดการสื่อสารกันผิดพลาด ที่เกิดจากการฟังผิดเพี้ยนได้

แบ่งปันกันครับ… แต่ขอออกตัวไว้ก่อน บทความนี้เขียนด้วยความคิดเห็นส่วนตัว ผิดถูกประการใดช่วยชี้แนะด้วย QRU 73

อ้างอิง ประกาศ หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น ฉบับที่ 2

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

กำหนดการอบรมและสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่น ฉบับที่ 2/2567

  • admin
  • 24-07-2024
  • ปิดความเห็น บน กำหนดการอบรมและสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่น ฉบับที่ 2/2567

อีกครั้ง มีกำหนดการสอบเพิ่มเติม สำหรับผู้สนใจที่จะเป็นพ […]

Read more

ความถี่วิทยุสมัครเล่น และรีพีทเตอร์

ความถี่ กลุ่ม/ชมรม/สมาคมนักวิทยุสมัครเล่น มาลองค้นหากัน […]

Read more

การติดตั้ง Icom ic2300H-T สถานีรถ Ford Ranger

รับสิ่งดีดี เริ่มปีมะโรงงูใหญ่ จัดไปกับ Icom ic2300H-T […]

Read more