![]() ![]() ![]() ![]() ![]()
|
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ฝาง เชียงใหม่ (ดอยอ่างขาง)
อ่านแล้ว 16,953 ครั้ง
กำเนิดของสถานีเกษตรแห่งนี้ มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านรวมกันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นชาวเขา กลุ่มนี้ยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีเกษตรหลวงจึงเกิดขึ้นบนดอยอ่างขางเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล
สวน ๘๐ (Garden Eighty)
เป็นสวนที่จัดตั้งในวาระที่องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4.95 ไร่ โดยการพัฒนางานจัดตกแต่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ลักษณะการจัดสวนเป็นแบบรวบรวมพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ดอกไม้ประดับ ตามฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-เดือนมีนาคม) จะมีพรรณไม้เมืองหนาวนานาชนิด ได้แก่ กะหล่ำและคะน้าประดับ แพนซีไวโอล่า เดลฟีเนียม ลิ้นมังกร และยังได้รวบรวม ศึกษาปลูกเลี้ยง พันธุ์ไม้จากประเทศต่างๆ เช่น แม็กโนเลีย คาเมลเลีย ไม้ตระกูลซากุระ และเมเปิ้ล ซึ่งจะจัดกลุ่มประเภทไม้ดอกออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้ 1.ไม้ดอกฤดูหนาว (ตุลาคม - มีนาคม) ได้แก่ ดอกลิ้นมังกร กะหล่ำประดับ เจอราเนียม บีโกเนีย เดลฟีเนียม อาเจอราตุ้ม ผีเสื้อ กาซาเนีย พริมูล่า แพนซี ไวโอล่า เพนสทิม่อน เดซี่ ไอซ์แพล้นท์ เป็นต้น 2.ไม้ดอกฤดูร้อนและฤดูฝน (เมษายน - กันยายน) ได้แก่ ดอกซัลเวีย สร้อยไก่ ดาวเรือง ดอกไม้จีน อากาแพนธัส ดาเลีย รู๊ดบีเกีย เป็นต้น 3.ไม้ดอกเจริญข้ามปี (perennials) ได้แก่ ปักษาสวรรค์ แคล่าลิลี่ ลาเวนเดอร์ ตาเป็ดตาไก่ เป็นต้น
4. ไม้พุ่ม (shrubs) ได้แก่ ไฮเดรนเยีย คาเมลเลีย อาบูติล่อน หอมหมื่นลี้ ซากุระ นางพญาเสือโคร่ง แม็กโนเลีย อาซาเลีย โรโดเดนดรอน แปรงล้างขวด เป็นต้น
สวนคำดอย Rhododendron & Azalea Garden
สวนนี้จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2547 มีพื้นที่ประมาณ 1.5 ไร่ วัตถุประสงค์ เป็นสวนรวบรวมพันธุ์ไม้ตระกูลโรโดเดนดรอน สายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งในและจากต่างประเทศ และจัดเปลี่ยนไม้ดอกไม้ประดับ ประกอบเฉพาะบางส่วน ตามฤดูกาล ที่เรียกสวนสมเด็จนั้น เนื่องจากเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนดอยอ่างขาง และหลังจากเสร็จภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงเสด็จประทับพักผ่อนพระอิริยาบถใน สวนแห่งนี้ ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อว่าสวนสมเด็จ โดยลักษณะของสวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวม พันธุ์ไม้ประเภทฝิ่นประดับ ดอกป๊อปปี้ (Poppy) และไม้ประเภทไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ซึ่งทนแล้งได้ดีและปลูกโดยการหว่านเมล็ดตามฤดูกาล
หมู่บ้านคุ้ม
จุดชมวิวกิ่วลม
หมู่บ้านนอแล
หมู่บ้านขอบด้ง บริเวณ หน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มี โอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วน ตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อ ช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็กๆด้วย
หมู่บ้านหลวง โทร 053-450107-9 ต่อสโมสร 113 ติดต่อบ้านพัก 114 โทรสาร 053-450031 รายการบ้านพัก บ้านคำดอย 1-3 ( 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ) พักได้ 4 คน บ้านซากุระ 1-6 พักได้ห้องละ 2 คน บ้าน AK 1-20 พักได้ห้องละ 2 คน บ้านริมดอย 1-6 พักได้ห้องละ 5 คน บ้าน AK ใหญ่ (รวม) พักได้ 47 คน ** หมายเหตุ นอกฤดูการท่องเที่ยว จะเข้าพักได้ในราคาพิเศษ การเดินทางไปดอยอ่างขาง
จากเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่ข่า (วัดหาดสำราญ) ใช้เส้นทาง หมายเลข 1249 เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง แต่ช่วงกิโลเมตรที่ 10 ถึงดอยอ่างขางเป็นทางขึ้นเขาลาดชัน ต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ Writer : Update : 11 ส.ค. 2557 20:15:24
ข้อมูลจาก :
![]() เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความเห็น
|